วันอังคารที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ห้ามนำประเด็น "สถาบัน" มาใช้หาเสียงเลือกตั้ง

   ที่โรงแรมรามาการ์เด้นส์ ถนนวิภาวดีรังสิต กรุงเทพฯ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จัดประชุมผู้บริหารพรรคการเมืองเพื่อชี้แจงแนวทางเกี่ยวกับการหาเสียงเลือก ตั้ง มีตัวแทนจากพรรคการเมืองต่างๆ เข้าร่วม อาทิ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ หัวหน้าพรรคเพื่อไทย นายชุมพล ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา นพ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล หัวหน้าพรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน หัวหน้าพรรคมาตุภูมิ และ พล.ต.ท.ถวิล สุรเชษฐพงษ์ หัวหน้าพรรครักษ์สันติ เป็นต้น
   
   โดยนายประพันธ์ นัยโกวิท กกต.ด้านบริหารงานเลือกตั้ง ขอความคิดเห็นจากพรรคการเมืองในประเด็นที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งหรือพรรคการ เมืองนำสถาบันพระมหากษัตริย์มาเกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง โดยควรเพิ่มขึ้นใหม่ในหมวดข้อควรปฏิบัติในการเลือกตั้งดังนี้ (...) มิบังควรนำสถาบันพระมหากษัตริย์มาเกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งŽ น่าจะเป็นขอความร่วมมือน่าจะดำเนินการได้ และ กกต.ยังไม่ได้ออกเป็นมติเพื่อออกเป็นระเบียบ กกต.

   
   ด้าน นางสดศรี สัตยธรรม กกต. กล่าวว่า เรื่องสถาบันละเอียดอ่อนมาก เราไม่น่าจะโต้เถียงหรืออธิบาย เพราะเราได้เทิดทูนสถาบันอยู่แล้ว เนื่องจากพรรคการเมืองของไทยมีความขัดแย้งสูง หากพรรคการเมืองมีส่วนได้เสียทางการเมือง ได้ร่วมมือกันลงนามในพันธสัญญาจะเป็นการแสดงออกถึงความเคารพและยึดมั่นในการ เลือกตั้งที่แท้จริง โดย พันธสัญญาของพรรคการเมืองว่าด้วยความร่วมมือในการเลือกตั้ง ส.ส. พ.ศ.2554 มีดังนี้ 1.มิบังควรนำสถาบันพระมหากษัตริย์มาเกี่ยวข้องกับการหา เสียงเลือกตั้ง 2.จะปฏิบัติตามบทบัญญัติของกฎหมายระเบียบประกาศอันเกี่ยวกับการเลือกตั้ง อย่างเคร่งครัด 3.จะไม่ใช้กลไกของรัฐหรือทรัพยากรของรัฐมาเป็นประโยชน์ในการหาเสียงเลือก ตั้ง 4.จะหาเสียงเลือกตั้งโดยสันติวิธีไม่ข่มขู่คุกคามคู่แข่งด้วยวิธีการใดๆ และ 5.จะยอมรับผลการเลือกตั้งตามที่ประชาชนได้แสดงเจตนารมณ์ในการเลือกตั้งอย่าง จริงใจ อย่างไรก็ตาม ถ้ามีพันธสัญญาดังกล่าวสามารถลงนามในประกาศนี้ได้แม้ไม่ใช่มีบทสภาพบังคับ แต่จะเป็นบทบัญญัติทางใจไม่ได้บังคับให้พรรคการเมืองทุกพรรคลงนามกันได้

   
   จาก นั้นนายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธานกกต. ขอมติ โดยเสียงส่วนใหญ่ของพรรคการเมืองต่างยกมือเห็นด้วยกับการให้นำประเด็นเรื่อง สถาบันระบุไว้เป็นข้อห้ามมิให้ปฏิบัติในการเลือกตั้งไว้ หลังจากได้ข้อสรุปแล้ว กกต.ได้เชิญหัวหน้าพรรคและผู้แทนพรรคการเมืองร่วมลงนามในพันธสัญญาของพรรค การเมือง ว่าด้วยความร่วมมือในการเลือกตั้ง ส.ส. พ.ศ.2554 โดยมี 42 พรรคการเมือง จาก 55 พรรค ที่ร่วมเซ็นชื่อลงนามสนับสนุนในพันธะดังกล่าว อาทิ นายอภิสิทธิ์ นายยงยุทธ ขณะที่พรรคชาติไทยพัฒนา (ชทพ.) ไม่ร่วมลงนามด้วย โดยนายชุมพล ศิลปอาชา ระบุว่า ต้องหารือกับพรรคก่อน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น