วันพุธที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

“จำปีเพชร” ซึ่งเป็นจำปีพื้นเมืองที่หายากและใกล้สูญพันธุ์

   
       
ดร.ปิยะ  เฉลิมกลิ่น ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ  สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี   สำรวจพบ “จำปีเพชร” ซึ่งเป็นจำปีพื้นเมืองที่หายากและใกล้สูญพันธุ์มากที่สุดของไทยในพื้นที่ จังหวัดเพชรบุรี  นับเป็นการสำรวจพบที่มีรายงานเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ที่เรียกว่า “new record to Thailand” แต่ไม่ใช่เป็นการสำรวจพบชนิดใหม่ของโลกในประเทศไทย (new species) และขณะนี้ วว. ประสบผลสำเร็จในการขยายพันธุ์นอกถิ่นกำเนิดเพื่อการอนุรักษ์อย่างยั่งยืน โดยการนำปลายยอดของกิ่งจำปีเพชรขาวมาทด ลองเสียบยอดกับต้นตอจำปาพบว่า สามารถเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ราบภาคกลาง แตกกิ่งก้านจำนวนมาก จากนั้นได้ทำการทาบกิ่งจำปีเพชรด้วยต้นตอจำปาอีกครั้งหนึ่ง พบ   ว่าวิธีการขยายพันธุ์จำปีเพชรโดยวิธีการทาบกิ่งด้วยต้นตอจำปาเป็นวิธีการที่ ได้ผลดี สะดวก รวดเร็วและประหยัด สามารถขยายพันธุ์ได้เป็นจำนวนมาก เมื่อนำออกปลูกนอกถิ่นกำเนิดเดิม ก็สามารถเจริญเติบโตได้ดี  จึงนับได้ว่าจำปีเพชรในประเทศไทยไม่มีโอกาสสูญพันธุ์แล้ว ผู้สนใจสามารถนำไปปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับลงแปลงกลางแจ้งได้ในพื้นที่ทั่ว ประเทศ ทั้งนี้มีข้อแนะนำว่าหากปลูกบนภูเขาหรือบนพื้นที่ระดับสูงจะออกดอกได้เร็ว เนื่องจากจำปีเพชรชอบแดดจัดและความชื้นสูง โดยเฉพาะปลูกในดินร่วนจะดีมากเพราะชอบดินร่วนระบายน้ำได้ดี ไม่ชอบดินชื้นที่มีน้ำขังแฉะ แต่ไม่แนะนำให้ปลูกเป็นไม้กระถางเนื่องจากเป็นไม้ต้นขนาดใหญ่
  
ดร.ปิยะ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ วว. กล่าวว่า  จำปีเพชรมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Magnolia mediocris (Dandy) Figlar มีการสำรวจพบครั้งแรกของโลกที่ประเทศจีน ในปี พ.ศ. 2471 สำหรับในประเทศไทยมีการสำรวจพบครั้งแรกโดย วว. เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 จากบนสันเขาใกล้แนวชายแดนไทย-พม่า ในเขตจังหวัดเพชรบุรี ที่ระดับความสูง 1,100 เมตร สำหรับเหตุผลที่เรียกว่า “จำปีเพชร” เนื่องจากสำรวจพบครั้งแรกที่จังหวัดเพชรบุรี
  
“หลังจาก ที่ วว. ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยเรื่อง “การอนุรักษ์พรรณไม้ในวงศ์จำปีจำปาในประเทศไทย” จากโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 ก็ได้ทำการสำรวจพรรณไม้ในวงศ์จำปีจำปาทั่วประเทศ แล้วได้พบจำปีเพชรขึ้นครั้งแรกที่จังหวัดเพชรบุรี ในปี พ.ศ. 2540 ซึ่งมีอยู่เพียง 2-3 ต้น นับว่าหายากและใกล้สูญพันธุ์มาก ไม่มีต้นกล้าเล็ก ๆ ขึ้นอยู่เลย มีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์มาก เกรงว่าจะสูญพันธุ์ จึงหาทางขยายพันธุ์ เพื่ออนุรักษ์มิให้สูญพันธุ์ แต่ยังไม่ประสบผลสำเร็จ
  
ต่อ มาเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 ได้มีการสำรวจพบจำปีเพชรอีกครั้งหนึ่ง จำนวน 2 ต้น ในพื้นที่ป่าภาคตะวันออกเฉียงใต้ในเขตจังหวัดจันทบุรี  ในระดับความสูง 1,000 เมตร เป็นต้นขนาดใหญ่มาก มีเส้นผ่าศูนย์กลางที่โคนต้นถึง 2.50 เมตร และมีความสูงราว 40 เมตร แต่ก็ไม่พบต้นกล้าขนาดเล็กขึ้นอยู่ที่ใต้ต้นแม่พันธุ์แต่อย่างใด ในขณะนั้นพบผลอ่อนร่วงอยู่ จึงรอจนถึงเดือนตุลาคม แล้วเข้าไปเก็บผลแก่มาเพาะเมล็ด ปรากฏว่าเมล็ดไม่งอกทั้งหมด ต่อมาได้นำปลายยอดมาทดลองเสียบกิ่ง จนถึงปี พ.ศ. 2552 จึงประสบผลสำเร็จในการขยายพันธุ์นอกถิ่นกำเนิดโดยการเสียบยอดและทาบกิ่ง แล้วทำการฝึกอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีลงสู่เกษตรกร
  
...จนเกษตรกร สามารถขยายพันธุ์เองได้ นับว่าเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรสร้างอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้ แล้วยังช่วยให้จำปีเพชรแพร่หลายได้รวดเร็วขึ้น...
  
จำปี เพชร  เป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ สูง25-40 เมตร โคนต้นมีขนาดเส้นผ่าศูนย์ กลางได้ใหญ่ถึง 2.50 เมตร เปลือกลำต้นหนาสีน้ำตาลและมีกลิ่นฉุน ใบเดี่ยวรูปรีแกมรูปขอบขนาน กว้าง  3.5-5.5 เซนติเมตร ยาว 8-14 เซนติเมตร มีก้านใบยาวมาก คือยาว 2-3.5 เซนติเมตร ที่ก้านใบไม่มีรอยแผลของหูใบ ออกดอกเดี่ยวที่ซอกใบใกล้ปลายยอด เป็นดอกขนาดใหญ่และสวยงาม มีกาบหุ้มดอก 1 แผ่น และที่กาบหุ้มดอกมีขนสีเหลืองทองปกคลุมหนาแน่น กลีบดอกสีขาว จำนวน 9-10 กลีบ แต่ละกลีบยาว 3.5 เซนติเมตร ดอกเริ่มแย้มและส่งกลิ่นหอมในเวลาพลบค่ำแล้วบานในวันรุ่งขึ้น ในช่วงเวลากลางวันที่มีแสงแดดรุนแรง จะส่งกลิ่นหอมได้น้อยลง แล้วกลีบดอกแต่ละกลีบจะร่วงในวันถัดมา มีผลกลุ่มเป็นช่อยาว  2-3.5 เซนติเมตร มีผลย่อย 3-6 ผล แต่ละผลมี 1-3 เมล็ด เมื่อผลแก่แล้วผลย่อยจะแตกออกเป็นแนวเดียว มีเมล็ดแก่สีแดงเข้ม
  
จำปี เพชร หากมีกลีบดอกสีขาวล้วน เรียกว่า จำปีเพชรขาว  หากมีกลีบดอกลายแดง เรียกว่า จำปีเพชรลายแดง ขณะนี้ วว. สามารถขยายพันธุ์ต้นจำปีเพชรขาวได้แล้ว เป็นต้นที่มีดอกดก กลิ่นหอมแรง ปกติจะออกดอกในเดือนกันยายนถึงมกราคม (แต่บางปีสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง ฤดูออกดอกก็จะเปลี่ยนแปลงไป) มีกลีบดอกจำนวน 9-10 กลีบ แต่ละกลีบยาว 3.5 เซนติเมตร ดอกบานอยู่ได้ 2-3 วัน.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น