วันพุธที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ทำนาไม่เผาตอซังข้าว..ต้นทุนต่ำ

         
             
                                 ปัญหา การเผาตอซังข้าว นับเป็นความสูญเสียทางระบบนิเวศวิทยาอย่างมหาศาล ทั้งยังนำมาซึ่งความเสื่อมสภาพของ “ดิน” ที่เป็นหัวใจหลักในการผลิตพืชอาหารทางการเกษตรโดยเฉพาะ “ข้าว” ซึ่งเป็นพืชอาหารหลักของคนไทย เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ทำให้เกษตรกรต้องใช้ปุ๋ยเคมีเพิ่มขึ้น  เมื่อต้นทุนเพิ่มสูงขึ้นเกือบเท่ากับ รายได้ ชาวนาที่ไม่มีทุนรอนสำรองก็ไม่สามารถเลี้ยงตัวเองได้จากอาชีพนี้นั่นเอง แต่ในความหดหู่นี้ก็ยังมีชาวนาบางส่วนที่ปรับตัวเอง ลด ละ เลิก เผาตอซังหันมาสู่การปลูกข้าวในแบบใช้วิถีธรรมชาติที่อาจจะต้องใช้ความอดทนใน ช่วงแรก แต่หลังจากนั้นเมื่อดินดี ผลผลิตก็จะค่อยๆ เพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน ดังเช่นตัวอย่างของ ทวี คุ้มรักษา ชาวนาในอำเภอลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี  
                  
            ทวี เล่าว่า ตนเป็นแค่ชาวนาธรรมดาคนหนึ่ง ที่ไม่ได้คิดอะไรมากไปกว่า จะทำนาอย่างไรให้ได้ราคา และมีต้นทุนต่ำ ที่กล่าวเช่นนี้ เพราะว่าปัจจุบันนี้ต้นทุนในการผลิตข้าวของชาวนาในแต่ละรอบการผลิตสูงมากจน แทบไม่เหลืออะไรทั้งค่าไถหว่าน, ค่าบำรุงรักษา, ค่าปุ๋ย, ค่ายา รวมทั้งค่าจัดการเก็บข้าวดีดอีก ดังนั้น ถ้าเกษตรกรไม่ยอมเปลี่ยนระบบการผลิตใหม่ ก็จะทำให้อนาคตมีต้นทุนการผลิตสูงกว่าเงินที่ขายข้าวได้อย่างแน่นอน และตนก็เป็นคนหนึ่งที่ติดอยู่ในวงจรนั้นมานาน จึงคิดว่าถ้าตนยังยึดรูปแบบการทำนาแบบเดิมอยู่ตนก็คงจะเป็นชาวนาที่ไม่มีวัน ลืมตาอ้าปากได้อย่างแน่นอน              
           
            จาก แนวคิดตรงนี้เองทำให้ ทวีปรับเปลี่ยน และพยายามตัดใจจากสิ่งเดิมที่เคยทำอยู่ โดยเริ่มจากลบความคิดเก่า ๆ ออกให้หมดไม่เผาตอซังข้าว หลังฤดูการเก็บเกี่ยว เพราะนอกจากจะทำให้โลกร้อนขึ้นแล้ว ยังทำให้ระบบนิเวศเสีย ที่สำคัญทำให้อินทรียวัตถุในดินหมดไปจนไม่สามารถทำให้ต้นข้าวมีผลผลิตที่ดี ได้ เพราะซังข้าวก็เป็นปุ๋ยชนิดหนึ่ง ฉะนั้นหากสามารถทำให้ย่อย และไถกลบก็จะไปช่วยให้อินทรีย์ในดินเพิ่มขึ้นส่งผลต่อต้นข้าวที่แข็งแรงและ ให้ผลผลิตที่ดีต่อมา
               
            เมื่อคิดได้ดัง นั้น ทวีจึงเริ่มปรับเปลี่ยนจากการทำนาแบบเดิมคือทำเสร็จเผาตอซัง มาเป็นทำนาเสร็จแล้วก็ปล่อยน้ำ และทำให้ซังข้าวย่อยสลายด้วยการใช้จุลินทรีย์มาช่วยย่อยตอซังในนาข้าว ซึ่งปัจจุบันเป็นระยะเวลาถึง 10 ปีแล้วที่เลิกเผาตอซัง
              
            ทั้ง นี้ เกษตรกรต้องอดทนเพราะในช่วงแรก ผลผลิตที่ได้อาจจะน้อย แต่รับรองว่านานวันเมื่อดินดีผลผลิตจะกลับมามากขึ้นอีกครั้ง นอกจากลด ละ เลิกการเผาตอซังข้าวแล้ว และใช้จุลินทรีย์เข้ามาช่วยในขั้นตอนของการย่อยสลายตอซังข้าว ทำให้ดินร่วนซุย มีอินทรียวัตถุในดินเพิ่มมากขึ้น และทำให้ข้าวไม่เมาตอซังอีกด้วย
              
            ทวี กล่าวอีกว่า ถ้าจะให้หมดปัญหาข้าวดีดโดยสิ้นเชิงนั้นจะต้องเปลี่ยนจากนาหว่านมาเป็นนาดำ เพราะจะช่วยคุมข้าวดีดได้ดี เพราะปัจจุบันค่าแรงการเก็บข้าวดีดที่ 1 ไร่ ต้องใช้คนเก็บถึง 2 คน 1 วัน ค่าแรงคนละ 250 บาท 1 รอบการผลิตต้องเก็บถึง 3 ครั้ง คิดเป็นเงินสำหรับค่าแรงการเก็บข้าวดีดต่อไร่ถึง 1,500 บาท ตรงนี้ก็เป็นต้นทุนที่ไม่น้อย ถ้าเกษตรกรยังไม่เปลี่ยนวิธีคิด วิธีทำ นับวันก็จะทำให้ต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นทั้งค่าปุ๋ย ค่ายา ฉะนั้นการไม่เผาตอซังข้าวพร้อมกับใช้ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ธรรมชาติจะช่วยย่อย สลายตอซัง นอกจากลดต้นทุน เพิ่มผลผลิตแล้ว ยังขายข้าวเป็นเมล็ดพันธุ์ได้ราคาสูงกว่าขายแบบทั่วไป ที่สำคัญเราไม่ต้องวิ่งหาตลาดเองถึงเวลาก็มีพ่อค้ามาจองผลผลิตถึงที่เลยที เดียว
           
            ปัจจุบันข้าวในแปลงของลุงทวีขายได้ ราคาสูงกว่าข้าวในแปลงของเกษตรกรทั่วไป ถึงกิโลกรัมละ 1-2 บาท ได้ผลผลิตต่อไร่เฉลี่ย 90 ถัง เนื่องจากเป็นข้าวที่อุดมสมบูรณ์และเป็นข้าวที่ปลอดข้าวดีดข้าวเด้ง.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น