วันอังคารที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ระบบนาประหยัดน้ำและปุ๋ย งานวิจัยที่ใช้ประโยชน์ได้จริง

   นัก วิจัย ม.อุบลฯ ทำการทดลองโครงการระบบนาประหยัดน้ำและปุ๋ย สามารถปลูกข้าวได้ในหน้าแล้งได้เป็นผลสำเร็จ พร้อมทั้งเร่งพัฒนาแปลงปลูกข้าวให้ได้ในพื้นที่ดินทรายอีกด้วย
   
     ดร.ฉัตร ภูมิ วิรัตนจันทร์ ประธานกรรมการบริหารหลักสูตรวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ที่ได้เสนอผลงานวิจัยต้านภัยความแห้งแล้งต่อคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ กับโครงการระบบนาประหยัดน้ำและปุ๋ย โดยนำหลักการของการสร้างสระต้านภัยแล้ง ที่ทำชั้นกันซึมแบบเดียวกัน ในแปลงนาข้าวลึกจากผิวดิน 30-50 ซม. ทำให้น้ำและปุ๋ยไม่ซึมลงใต้ดิน ทำให้ใช้ระบบเกษตรอินทรีย์ ไม่ใช่ปุ๋ยเคมีได้ ทั้งยังสามารถเลี้ยงปลาได้ในแปลงนานั้น
    จาก ปัญหาความแห้งแล้งของพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อเข้าสู่หน้าแล้งเกษตรกรไม่สามารถทำการเกษตรได้ โดยเฉพาะการปลูกข้าวซึ่งเป็นอาชีพหลักของเกษตรกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นักวิจัยโดย ดร.ฉัตรภูมิ วิรัตนจันทร์ ได้คิดค้นวิธีที่จะช่วยเหลือเกษตรกรจากปัญหาดังกล่าว โดยได้ทดลองโครงการระบบนาประหยัดน้ำและปุ๋ยขึ้น ที่ฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดำริบ้านยางน้อย ในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี ที่จะสามารถช่วยให้เกษตรกรในพื้นที่สามารถปลูกข้าวได้
    ดร.ฉัตรภูมิกล่าวว่า จากการทดลองในแปลงพื้นที่ 1,000 ตารางเมตร ทำนามาแล้ว 3 ครั้ง สภาพพื้นที่ก็ยังไม่เสียหาย มีน้ำพอสำหรับทำนา เลี้ยงปลาและเลี้ยงเป็ด และเมื่อคำนวณต่อพื้นที่ 1 ไร่ในที่นาระบบประหยัดน้ำนี้จะมีรายได้จากผลผลิตข้าว ปลูกผัก และการเลี้ยงสัตว์ในแปลงนา ราว 1 ล้านบาท ต่อ 1 ไร่ ต่อ 1 รอบการเพาะปลูก
    สำหรับระบบนาประหยัดน้ำดังกล่าว จะใช้หลักการชะลอการสูญเสียน้ำและสารอินทรีย์หรือปุ๋ยในนาข้าว ด้วยการสร้างชั้นกักขังน้ำไว้ในแปลงนาไม่ให้ซึมลงสู่พื้นดิน โดยขุดดินในนาข้าวลึก 50 เซนติเมตร แล้วสร้างชั้นกันน้ำด้วยแผ่นพลาสติกทั่วพื้นแปลงนา ซึ่งจะเก็บกักน้ำไว้ในนาข้าวได้จนข้าวออกรวง
    ดร.ฉัตร ภูมิกล่าวอีกว่า เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกันซึมต่างชนิดกัน ราคาก่อสร้างปัจจัยหลักมาจากค่าขนส่ง แม้ดินเหนียวธรรมชาติราคาถูกแต่ต้องใช้ปริมาณมาก หากขนส่งไกลจะเพิ่มต้นทุนในการก่อสร้างอย่างมาก ในกรณีดังกล่าวการเลือกปรับปรุงดินนาเดิม ด้วยดินเหนียวเบนโทไนต์จะเหมาะสมกว่าแม้แผ่นโพลิเมอร์ดูเหมือนเป็นทางเลือก ที่น่าสนใจ แต่ในทางปฏิบัติแผ่นโพลิเมอร์เมื่อต้องกำจัดย่อมไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และสามารถเสียหายได้ง่ายต้องระมัดระวังอย่างมาก
    ทั้งนี้แล้วสำหรับการทดลองโครงการดังกล่าว ที่มีการกักเก็บน้ำให้อยู่ในนาข้าว นั้นยังช่วยเก็บธาตุและสารอาหารที่จำเป็นให้ต้นข้าวอย่างเต็มที่ โดยไม่สูญเปล่าหรือเสื่อมสลายไปในดินเช่นการปลูกด้วยวิธีปกติ อีกทั้งเกษตรกรยังสามารถใช้แปลงนาข้าวที่มีน้ำขังเลี้ยงสัตว์น้ำเป็นรายได้เสริมให้เกษตรกรได้อีกด้วย
    รายได้จากนาเดิมที่ขังน้ำไม่ได้ ทั้งไม่สามารถใช้ระบบเกษตรอินทรีย์เต็มรูปแบบจะมีรายได้น้อยกว่า 6,000 บาท/เดือน/ไร่/รอบการเพาะปลูก ซึ่งปลูกได้ 1 รอบเฉพาะนาปี โดยนาที่ขังน้ำได้จะสามารถใช้ระบบเกษตรอินทรีย์อะตอมมิคนาโนได้ อีกทั้งเลี้ยงสัตว์น้ำในนาและปลูกพืชผักในคันนาจะมีรายได้เพิ่มขึ้นเป็น 2.2 หมื่นบาท ถึงมากกว่า 1 แสนบาท/ไร่/รอบการเพาะปลูก ซึ่งปลูกได้อย่างน้อย 2 รอบต่อปีหากมีแหล่งน้ำนอกฤดูฝน
     โครงการระบบนาประหยัดน้ำและปุ๋ยดังกล่าว ตั้งอยู่ที่ฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดำริในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ บ้านยางน้อย อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี ได้นำไปใช้งานจริงในภาคการเกษตรในชุมชนใกล้เคียง พร้อมเตรียมสนับสนุนขยายผลสู่พื้นที่ประสบภัยปัญหาทางการเกษตรในพื้นที่ภาค อีสานต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น