วันจันทร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2554

รู้จัก “โรคปลอกประสาทอักเสบ” เผยกลุ่มเสี่ยง...อันตรายถึงชีวิต

   
       
ใคร เคยมีอาการแขน ขา ไม่มีแรงบ้าง หรือมีอาการเป็นเหน็บชาบ่อยครั้ง มองอะไรไม่ค่อยเห็น ถ้าหากมีอาการเหล่านี้ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้เพราะนั่นอาจจะเป็นสัญญาณเตือนของ “โรคปลอกประสาทอักเสบ”
  
นพ.ดิตถพงษ์  บุญอำพล แพทย์ด้านสมองและกระดูกสันหลัง โรงพยาบาลปิยะเวท ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคนี้ว่า โรคปลอกประสาทอักเสบ หรือทางการแพทย์เรียกว่า โรคเอ็มเอส หรือ โรคมัลติเพิล สเคอโรซิส (Multiple Sclerosis : MS) เป็นโรคที่เกิดจากเยื่อกั้นระหว่างหลอดเลือดและระบบประสาทถูกทำลาย โดยจะเกิดความผิดปกติในระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งประกอบด้วยสมอง ไขสันหลัง และเส้นประสาทตา โดย แมคโครฟาจและทีเซลล์ ซึ่งเป็นเซลล์ที่อยู่ในเม็ดเลือดขาว ทำหน้าที่คอยดักจับเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในกระแสเลือด จะเข้าไปทำลายเซลล์ประสาท เพราะคิดว่าเป็นเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอม เมื่อมีลักษณะเช่นนี้ จึง จัดโรคเอ็มเอสไว้ในกลุ่มของโรคออโตอิมมูน คือ โรคที่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำลายเซลล์ตัวเอง เมื่อเกิดการอักเสบจะทำให้ร่างกายส่วนที่ถูกทำลายอ่อนแอลง
  
โรค เอ็มเอส พบไม่มากนักในประเทศไทย แต่ถือว่า เป็นโรคที่มีความรุนแรง เพราะหากปล่อยไว้นานอาจเกิดพิการได้ถึงร้อยละ 50 โดยจะพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย 1.5 เท่า ในช่วงอายุระหว่าง 15-50 ปี
   
โรค นี้ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่มีความเชื่อว่า ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคนี้ คือ พันธุกรรม คือผู้ที่มีประวัติว่าพ่อ แม่ เป็นโรคนี้ ย่อมมีโอกาสที่ลูกจะเป็นมากกว่าคนปกติ  รวมทั้ง เชื้อชาติ พบว่า คนเอเชียเป็นโรคนี้น้อยกว่าคนผิวขาวในกลุ่มประเทศแถบยุโรป และบางเชื้อชาติแทบจะไม่เกิดโรคนี้ขึ้นเลย ปัจจัยต่อมา คือ แสงแดด เป็นสิ่งที่อาจจะช่วยให้อุบัติการณ์ของโรคนี้น้อยลง โดยพบว่า ประเทศที่มีแสงแดดน้อยจะพบอุบัติการณ์ของโรคนี้มาก
   
อีกปัจจัย หนึ่ง คือ ด้านมลพิษและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการติดเชื้อ หรือได้รับเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรียบางชนิด ส่งผลให้ภูมิต้านทานของร่างกายไม่สามารถแยกแยะได้ถูกต้อง ระหว่างเซลล์ร่างกายกับสิ่งแปลกปลอม ทำให้แทนที่ภูมิต้านทานจะทำลายเชื้อโรคเพียงอย่างเดียว กลับไปทำลายปลอกหุ้มเส้นประสาทด้วย จนเกิดอาการอักเสบขึ้นมา
  
’อาการ ของผู้ป่วยแต่ละคนจะแสดงอาการแตกต่างกัน บางคนมีอาการหนัก มีลักษณะของโรคแสดงออกมาอย่างชัดเจน บางคนแสดงอาการเป็นครั้งคราว และโรคนี้เป็นโรคที่ไม่สามารถคาดเดาได้ว่าจะเกิดอาการขึ้นมาเมื่อไหร่ โดยจะขึ้นอยู่กับบริเวณที่เกิดโรค เช่น หากเกิดที่เส้นประสาทตา จะส่งผลต่อการมองเห็น อาจสูญเสียการมองเห็นของตาข้างใดข้างหนึ่ง เนื่องจากเส้นประสาทตาอักเสบ จึงทำให้ปวดตา ตาพร่ามัว หากเกิดที่ไขสันหลัง หรือสมอง อาจมองเห็นภาพซ้อน มีอาการชาครึ่งตัว แขนขาไม่มีแรง เหน็บชา ปวด หรือปัสสาวะไม่ออก“

ในส่วนของสมองขึ้นอยู่กับว่าเกิดที่สมองส่วนที่ ทำหน้าที่ควบคุมส่วนไหนของ ร่างกาย ถ้าเป็นที่สมองส่วนกลางที่ควบคุมการทรงตัว คนไข้อาจมีอาการหัวหมุน หรือวิงเวียนศีรษะได้แต่มักมีอาการอื่นร่วมด้วย ทั้งนี้ หากเป็นมากอาจสูญเสียการเคลื่อนไหวของร่างกาย จนอาจเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต และเสียชีวิตได้
  
ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ จะมีความผิดปกติทางสมองประมาณ 30-70% โดยเฉพาะด้านการกะระยะทาง ความจำ ความเร็วในการประมวลผล และการบริหารงานของสมอง
  
การวินิจฉัยโรคของ หมอจะทำด้วยการซักประวัติ เพื่อแยกโรคเอ็มเอสจากโรคอื่น ๆ  เพราะลักษณะอาการมีความคล้ายคลึงกับอีกหลาย ๆ โรค รวมทั้ง ทำการตรวจด้วยเครื่องเอ็มอาร์ไอตรวจสแกน ซึ่งจะทำให้สามารถมองเห็นภาพสมองหรือไขสันหลังตำแหน่งที่เยื่อประสาทถูก ทำลายและมีการสลายตัวเห็นเป็นรอยแผลเป็น
   
นอกจากนั้นจะมี การทดสอบทางสรีระวิทยาไฟฟ้าของสมอง ซึ่งเป็นการตรวจสอบความเร็วจากสิ่งกระตุ้น เช่น เสียงหรือภาพที่ส่งไปยังสมอง หรือความเร็วของการสั่งการจากสมองไปยังอวัยวะอื่น ๆ ว่ามีความล่าช้ากว่าปกติหรือไม่
   
ตลอดจนการเจาะไขสัน หลัง เพื่อดูดเอาน้ำเลี้ยงสมองและไขสันหลังไปตรวจ เพื่อดูว่าเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายมีจำนวนมากขึ้นหรือไม่
  
ด้าน การรักษา นพ.ดิตถพงษ์ กล่าวว่า โรคเอ็มเอสปัจจุบัน ยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาด ทำได้เพียงแค่รักษาตามอาการ โดยการชะลอให้อาการต่าง ๆ ทุเลาลง หากเกิดภาวะเสื่อมสภาพของร่างกาย  เช่น แขน ขา อ่อนแรง ก็จะต้องทำกายภาพบำบัด หากต้องการรักษาโดยการป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำ จะให้ยากลุ่มสเตียรอยด์ เพื่อลดอาการอักเสบ หรือยาลดความรุนแรงของโรคในกลุ่ม อินเตอร์ฟิรอน เบต้า หรือยากดภูมิคุ้มกันบางตัว ซึ่งเป็นยาที่ไปช่วยปรับแต่งภูมิคุ้มกัน ยากลุ่มนี้จำเป็นต้องทานในระยะยาว เพื่อลดการเกิดใหม่ของโรค แต่ราคาค่อนข้างแพง รวมทั้งการฝังเข็ม การให้ยาสมุนไพร อีกทั้ง แนวการรักษาแบบโฮมิโอพาธี และแนวการรักษาแบบออสทีโอพาธีร่วมด้วย
  
คน ไข้บางรายมีภาวะเรื้อรังที่เกิดจากโรค เช่น มีอาการปวดเรื้อรัง คือแม้โรคจะหายไปแล้ว แต่อาการปวดยังไม่หายไปด้วย กลุ่มคนไข้นี้จะต้องรักษาต่อเนื่องต่อไปอีก ซึ่งตรงนี้อาจทำให้คนไข้เกิดความทุกข์ ส่งผลให้คนไข้เกิดภาวะซึมเศร้า  หดหู่  ไม่อยากทำงาน หรือทำงานได้ไม่เต็มความสามารถ ซึ่งจะเป็นผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นได้จากโรคนี้ จึงต้องมีการพูดจาทำความเข้าใจกับคนไข้ เพื่อให้มีกำลังใจในการเข้ารับการรักษาต่อไป
  
เนื่องจากเป็นโรคที่ ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ดังนั้น คนไข้ที่เคยเป็นมาแล้ว ก็อาจกลับมาเป็นซ้ำได้อีก เพื่อเป็นการป้องกันการเป็นซ้ำ และลดความรุนแรงของโรคผู้ป่วย จึงควรหลีกเลี่ยงสิ่งที่จะกระตุ้นให้เกิดอาการซ้ำ  โดยมีความเชื่อว่า ภาวะเครียด อดนอน อาจจะทำให้โรคนี้กลับมาได้
  
นอกจากนี้ยังเป็นโรค ที่ไม่ทราบสาเหตุอย่างแน่ชัด การป้องกันที่ดี คือพยายามอย่าเครียด เพราะจะทำให้ภูมิต้านทานร่างกายอ่อนแอลง รวมทั้งการดูแลสุขภาพร่างกายให้สมบูรณ์ แข็งแรง ทั้งกายและใจ ทานอาหารให้ถูกสุขลักษณะหมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำ เสมอ ตลอดจนพักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ นอกจากจะช่วยป้องกันโรคปลอกประสาทอักเสบแล้วยังช่วยป้องกันโรคอื่น ๆ ได้อีกด้วย.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น